นักโบราณคดีหลายท่านมีความเห็นสอดคล้องกับศาสตราจารย์ยอร์จ เซเดย์ เนื่องจากได้พบศิลาจารึก 8 หลัก
บนเกาะสุมาตรา มีอยู่ 2 หลัก กำหนดอายุในช่วงเดียวกับการเดินทางมาถึงของภิกษุอี้จิง อย่างไรก็ตามนักวิชาการ
เช่น ราเมชจันทร์ มาชุมดาร์ ควอริทช์-เวลส์ และหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี มีความเห็นว่า ศูนย์กลางของศรีวิชัยควรจะอยู่บนคาบสมุทรมาเลย์ โดยเฉพาะหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี มีความเห็นว่าจารึกที่กล่าวถึงอาณาจักรศรีวิชัยที่พบที่ไชยา
สุราษฎร์ธานี นั้น เป็นจารึกภาษาสันสกฤต ซึ่งตรงกับบันทึกของภิกษุอี้จิง ในขณะที่จารึกที่พบบนเกาะสุมาตราเป็นภาษามลายูโบราณ
และเมื่อพิจารณาถึงการเดินเรือเพียง 20 วัน ของภิกษุอี้จิง ควรถึงเมืองไชยา สุราษฎร์ธานี
และคงไม่ผ่านเส้นศูนย์สูตรไปถึงเกาะสุมาตรารวมทั้งทางภาคใต้ของประเทศไทยก็ได้พบโบราณวัตถุ
โบราณสถาน ซึ่งมีลักษณะที่เรียกว่า “ศิลปกรรมแบบศรีวิชัย” กำหนดอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-18
ลักษณะศิลปแบบศรีวิชัยส่วนมากเป็นศิลปที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
ลัทธิมหายาน จึงมักพบพระรูปพระโพธิสัตว์ เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระศรีอายิยเมตไตรยโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ไวโรจนะ และศิลปวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาพราหมณ์ในลัทธิไวษณพนิกาย นอกจากนั้นยังพบร่องรอยของสถาปัตยกรรมตลอดจนโบราณสถานทั้งในปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา และคาบสมุทรมาเลย์ทางภาคใต้ของประเทศไทย
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบโดยกว้างจากปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย มาจนถึงคาบสมุทรมาเลย์ และทางภาคใต้ของประเทศไทย
ได้มีข้อสรุปเกี่ยวกับศรีวิชัยคือ “ศรีวิชัย” ไม่ใช่ชื่ออาณาจักรที่มีศูนย์กลางของอำนาจในทางการเมืองและควบคุมเศรษฐกิจอยู่เมืองใดเมืองหนึงเพียงแห่งเดียว แต่ศรีวิชัยเป็นชื่อกว้างๆ
ทางศิลปะ และวัฒนธรรมของบ้านเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าทางทะเลแถบคาบสมุทร กลุ่มบ้านเมืองหรือแว่นแคว้นต่างๆ
เหล่านี้มีวัฒนธรรมร่วมกันคือ การนับถือพุทธศาสนา
มหายานและมีรูปแบบศิลปกรรมแบบศรีวิชัยเช่นเดียวกัน แว่นแค้วนและบ้านเมืองทั้งบนผืนแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะเกี่ยวข้องกันในลักษณะของสหพันธรัฐที่มีศูนย์กลางอำนาจเปลี่ยนแปลงไปตามความผันแปรทางเศรษฐกิจ
ความสำคัญของศรีวิชัยที่ปรากฏจากจดหมายเหตุของจีนสมัยราชวงศ์ถังคือ
เป็นศูนย์กลางการค้าขายสินค้าข้ามสมุทรทางฝั่งทะเลตะวันตกและตะวันออก ผ่านช่องแคบมะละกา ดังนั้นจึงได้พบ
ลูกปัดจากดินแดนทางตะวันตกและเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งพบเรื่อยลงมาทั้งที่เกาะสุมาตราและทางภาคใต้ของประเทศไทย แต่ในที่สุดความรุ่งเรืองทางการค้าของศรีวิชัยก็ลดลงเมื่อจีนได้พัฒนาเรือที่ค้าขายและทำการค้าขายโดยตรงกับบ้านเมืองที่อยู่ชายฝั่งทะเลตั้งแต่พุทธศตวรรษที่
16 และการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ทำให้เมืองทางแถบคาบสมุทรทางภาคใต้ของประเทศไทยรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
ศูนย์กลางของศรีวิชัยอยุ่ที่เมืองใด
เป็นปัญหาที่ยังไม่ยุติ อาจมีหลายเมืองสืบต่อกันและเมืองหลวงแห่งแรกคือ
ปาเลมบัง เมืองปาเลมบังตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตรา
มีแม่น้ำมูสีไหลผ่านตัวเมืองเข้าไปจนถึงแผ่นดินภายในเกาะ สภาพเช่นนี้ ทำให้ปาเลมบังเป็นเมืองท่าที่เหมาะสม สำหรับการขนถ่ายสินค้าจากภายในแผ่นดินออกสู่ทะเล ดังนั้นศรีวิชัยจึงสามารถครอบครองช่องแคบมะละกา ตลอดจนรัฐในคาบสมุทรมลายูทั้งหมด รวมทั้งลังกาสุคะที่ร่วมสมัยกัน
โอ ดับเบิลยู โวลเตอร์ ชาวอเมริกันผู้เชียวชาญประวัติศาสตร์โบราณของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นผู้เสนอว่า เมืองปาเลมบังเป็นศูนย์กลางของศรีวิชัย เพราะจากการศึกษาทางโบราณคดีพบเมืองโบราณ มีคูน้ำล้อมพระราชวัง มีร่องรอยการค้าต่างประเทศคือ ถ้วยชามกระเบื้องสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้องตอนต้นของจีน บริเวณภูเขาบูกิตซีกุนตัง และมีจารึกของชาวอินโดนีเซียตั้งแต่
พ.ศ.1225 ที่จารึกไว้ว่ามีแคว้นศรีวิชัยตั้งอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านกะรังอันยาร์ ซึ่งอยู่ทางฝ่างด้านเหนือของแม่น้ำมูกับเมืองปาเลมบัง และในจดหมายเหตุของมาเลย์ก็บันทึกไว้ว่าหมู่บ้านกะรังอันยาร์เป็นถิ่นกำเนิดของผู่ก่อตั้งรัฐมะละกา
เคยมีการตีความกันว่าเมืองนครศรีธรรมราช อาจเป็นเมืองหลวงของศรีธรรมราช อาจเป็นเมืองหลวงของศรีวิชัย เพราะใน พ.ศ. 1318
มีการฝังเสาหินจารึกยอพระเกียรติของศรีวิชัย ที่เมืองนครศรีธรรมราช แต่นักประวัติศาสตร์คนไทยได้คัดค้าน
อ้างว่า ศิลาจารึกตันจอ และบันทึกของชาวจูเกาะ ซึ่งตีความได้ว่านครศรีธรรมราชเป็นเพียงเมืองขึ้นของศรีวิชัย และนครศรีธรรมราชคือแคว้นตามพรลิงค์ และยังได้คัดค้านประเด็นที่ว่าเมืองหลวงของศรีวิชัย อยู่ที่เมืองปาเลมบัง โดยได้อ้างบันทึกของ
พระภิกษุจีนชื่อ อิจิง ที่บันทึกไว้เมื่อ พ.ศ. 1214 - 1238 โดยเดินทางมากับเรือพ่อค้าชาวเปอร์เซียจากกวางตุ้งได้ 20 วัน ก็มาถึงเมือง โฟซิ ถึงเมืองไชยา แล้วพักอยู่ 6 เดือน เพื่อเรียนภาษาสันสกฤตแล้วเดินทางต่อไปจนถึงเมืองโบราณชื่อเมือง
โมโลยู หรือมาลายู อยู่เกาะกลางสุมาตรา พักอยู่ 2 เดือน เพื่อรอลมเปลี่ยนทิศทาง แล้วแล่นเรือกลับผ่านช่องแคบมะละกา 15 วัน ก็ถึงเมืองเกียขะ
หรือเคดาร์ (ไทรบุรี) จากนั้นก็ข้ามมหาสมุทรไปอินเดีย จากบันทึกนี้แสดงว่าพระภิกษุอิจิงไม่เคยลงไปถึงเมืองปาเลมบัง แต่พักอยู่ที่เมืองไชยาซึ่งเป็นเมืองสำคัญและยังมีร่องรอยทางโบราณคดี โบราณสถานอีกมากมายที่แสดงถึงวัฒนธรรมของศรีวิชัย
จนทำให้เชื่อว่าเมืองไชยาคือเมืองหลวงของศรีวิชัย
ศูนย์กลางของศรีวิชัยจึงเป็นปัญหาที่ยังไม่ยุติ แต่กระนั้นบริเวณคาบสมุทรมลายูก็เป็นส่วนหนึ่งของศรีวิชัยและเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลที่มีชื่อเสียงมาก มีความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม ประชาชนนับถือศาสนาพุทธมหายานและศาสนาพราหมณ์ ร่องรอยที่เหลือไว้คือโบราณสถานและโบราณวัตถุ ทางด้านสถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงคือ
พระบรมธาตุไชยา เป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมทรงมณฑปและเจดีย์ศรีวิชัยที่วัดแก้ว
ในอำเภอไชยาจังหวัดสุราษฎร์ธานี นอกจากนั้นยังมีที่จังหวัดพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช และพังงา เป็นต้น ส่วนตอนบนของประเทศไทยมีร่องรอยแสดงว่าอิทธิพล
ของศรีวิชัยได้แพร่ขึ้นไปอาจเป็นเพราะเมื่อครั้งสมัยสุโขทัยตอนต้นๆ ได้รับเอาพุทธศาสนาและศิลปกรรมไปจากเมืองนครศรีธรรมราช ทำให้มีสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย ที่จังหวัดสวรรคโลก คือ มณฑปวัดเจดีย์เจ็ดแถว และเจดีย์ในวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย รวมทั้งเจดีย์องค์เล็กในวัดพระธาตุ หริภุญชัย เป็นต้น
ทางด้านประติมากรรมมีพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงคือ
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พบที่วัดมหาธาตุ อำเภอไชยา
มีพระพิมพ์ดินดิบปางต่างๆ พระพิมพ์ติดแผ่นเงินแผ่นทองทางด้านศาสนาพราหมณ์ได้แก่
เทวรูปพระมาลาแขก เทวรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เป็นต้น
เครื่องมือเครื่องใช้มีเครื่องปั้นดินเผาทำเป็นภาชนะหม้อไห ใช้สีเขียนลวดลายและทำเป็นแบบลูกจันทร์นูนขึ้นมาประดับลวดลายอื่นๆ มีลูกปัดทำเป็นเครื่องประดับ
มีเงินกลมใช้เรียกว่า นะโม และเงินเหรียญชนิดหนาใช้แลกเปลี่ยนด้วย มีตราดอกจันทร์อยู่ด้านหนึ่งอีกด้านหนึ่งมีตัวอักษรสันสกฤตเขียนไว้ว่า “วร” ประดับอยู่
ราชวงศ์ที่ปกครองศรีวิชัยคือราชวงศ์ไศเลนทร์ ปกครองตลอดทั่วไปในแหลมมลายูลงไปถึงเกาะต่างๆ
ศรีวิชัยมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเพราะสามารถควบคุมช่องแคบมะละกาได้ เรือที่ผ่านไปมาต้องแวะพักจอดเรือตามเมืองท่าต่างๆ
ของแค้วนศรีวิชัย
ศรีวิชัยมีความสัมพันธ์กับประเทศจีนเป็นอย่างดี มีการส่งคณะทูตไปเจริญสัมพนธ์ไมตรีกับจีนเป็นระยะๆ ประมาณ 12 ครั้ง และใน พ.ศ. 1536
เคยขอความช่วยเหลือจากจีนให้ช่วยปราบกองทัพของชวาที่ยกมารุกราน และใน พ.ศ. 1550
ศรีวิชัยได้ทำสงครามกับแคว้นมะทะรัม ซึ่งอยู่ในชวากลาง และได้รับชัยชนะจึงมีอำนาจเหนือมะทะรัม
กลางพุทธศตวรรษที่ 16 ทำสงครามกับพวกโจละ (Chola อยู่ทางตะวันออกของอินเดีย) เพราะโจละ จะเข้าแย่งชิงผลประโยชน์ทางการค้าแถบแหลมมลายูไปจากศรีวิชัย การรบดำเนินมาหลายปี
ที่สำคัญเกิดขึ้นใน พ.ศ. 1568 แถบเมืองตักโกละ (ตะกั่วป่า หรือ ตรัง) เคดาห์ ตูมาสิก
(สิงคโปร์) ลังกาสุคะ นครศรีธรรมราช ไชยา แม้จะยึดครองศรีวิชัยไม่ได้แต่สงครามครั้งนี้มีผลให้บรรดาเมืองต่างๆ
ที่เคยขึ้นต่อแคว้นศรีวิชัยกระด้างกระเดื่องจนถึงขั้นยกทัพมาชิงดินแดนบางแห่ง เช่น
พระเจ้าไอร์ลังคะ แห่งแคว้นเคดีรีในชวาตะวันออก ผลจากการทำสงครามกับโจละ ทำให้ศูนย์กลางจากศรีวิชัยย้ายจากเมืองไชยาไปอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาอำนาจทางการปกครองของศรีวิชัย เปลี่ยนจากราชวงศ์ไศเลนทร์ไปเป็นราชวงศ์ปทุมวงศ์ กษัตริย์ของศรีวิชัยราชวงศ์ใหม่พยายามรักษาอิทธิพลบนแหลมมลายูไว้
รวมทั้งช่องแคบและหมู่เกาะ
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 – 19 ศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลงมาก เพราะเกิดจลาจลในคาบสมุทรมลายู
และมีแคว้นคู่แข่งเกิดขึ้น 2 แห่งคือ ในชวาตะวันออกมีแคว้น เคดีรี ส่วนทางเหนือมีอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งราชวงศ์มองโกล (พ.ศ.
1803 – 1911) ของจีนให้การสนับสนุนเคดีรีเขายึดครองบางส่วนของศรีวิชัย
คือดินแดนบางส่วนในอินโดนีเซียปัจจุบันไว้ ต่อมาได้สูญเสียคาบสมุทรมลายูให้กับอาณาจักรสุโขทัยที่ยึดนครศรีธรรมราชได้ แล้วสุโขทัยได้แผ่ขยายอำนาจลงมาเรื่อยๆ ศรีวิชัยจึงสลายลงโดยปรากฏจากหลักฐานของมาร์โคโปโล
นักสำรวจชาวเวนิส ใน พ.ศ. 1835 ที่แวะเยือนสุมาตราระหว่างเดินทางกลับจากจีน หลังจากที่อยู่ที่จีนได้ 17 ปี มาร์โคโปโลไม่ได้บันทึกเรื่องราวของศรีวิชัยเลย กล่าวแต่ว่ามี
เรียนเพื่อนสมาชิก
ตอบลบเรื่องราวของศรีวิชัยปัจจุบันพบว่ายังเข้าใจผิดและคลาดเคลื่อนอยู่อีกมาก ขอให้ดูบทความใน google ที่จัดทำไว้ดังนี้
“ศรีวิชัยมีศูนย์กลางอยู่ที่ อ.สิงหนคร จ.สงขลา” หรือภาษาอังกฤษ Srivijaya Empire, the center was in Songkhla,Thailand
จาก ประจิต ประเสริฐประศาสน์ - ผู้ค้นคว้า, นักวิชาการอิสระ
เรียนเพื่อนสมาชิก
ตอบลบเรื่องราวของศรีวิชัยปัจจุบันพบว่ายังเข้าใจผิดและคลาดเคลื่อนอยู่อีกมาก ขอให้ดูบทความใน google ที่จัดทำไว้ดังนี้
“ศรีวิชัยมีศูนย์กลางอยู่ที่ อ.สิงหนคร จ.สงขลา” หรือภาษาอังกฤษ Srivijaya Empire, the center was in Songkhla,Thailand
จาก ประจิต ประเสริฐประศาสน์ - ผู้ค้นคว้า, นักวิชาการอิสระ
มีหลักอะไรที่บอกว่ามีศูนย์กลางศรีวิชัยอยู่สิงหนนคร อย่ามามั่วหน่อยเลย
ลบขอ email address ของคุณ Akaraphon ด้วยครับ
ตอบลบCasino - MapyRO
ตอบลบFind all information 창원 출장샵 and reviews for Casino at MapyRO Casino in 천안 출장마사지 Elgin, 경기도 출장샵 Illinois. 세종특별자치 출장안마 Elgin, Illinois - MapyRO 경상남도 출장안마 Casino, Hotels, Address, Map, Map