มีอาณาเขตครอบคลุมมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย พื้นที่อาณาจักรแบ่งได้สามส่วน คือส่วนคาบสมุทรมลายู เกาะสุมาตรา และหมู่เกาะชวา โดยส่วนของชวาได้แยกตัวออกไปตั้งเป็นอาณาจักรมัชปาหิต ต่อมาเมื่ออาณาจักรศรีวิชัยอ่อนแอลง อาณาจักรมัชปาหิตได้ยกทัพเข้ามาตีศรีวิชัย ได้ดินแดนสุมาตราและบางส่วนของคาบสมุทรมลายูไป และทำให้ศรีวิชัยล่มสลายไปในที่สุด ส่วนพื้นที่คาบสมุทรที่เหลือ ต่อมาเชื้อพระวงศ์จากอาณาจักรเพชรบุรี ได้เสด็จมาฟื้นฟูและตั้งเป็นอาณาจักรนครศรีธรรมราช
ลักษณะของศรีวิชัย
พระพุทธรูป
ประติมากรรมในศิลปะแบบศรีวิชัยได้แก่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสลักด้วยศิลาและค้นพบที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (รูปที่ ๑) ซึ่งเป็นประติมากรรมที่น่าจะเก่าที่สุด และยังมีอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะปะปนอยู่มาก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรอีก ๒ องค์ ซึ่งหล่อด้วยสัมฤทธิ์และค้นพบที่อำเภอไชยาเช่นเดียวกัน อยู่ในสมัยต่อมา และดูจะมีอิทธิพลของศิลปะแบบหลังคุปตะและปาละ-เสนะเข้ามาปะปนแล้ว องค์แรกที่เหลือเพียงครึ่งองค์ (รูปที่ ๒) ถือกันว่าเป็นโบราณวัตถุที่งามที่สุดชิ้นหนึ่งในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แม้พระธยานิพุทธอมิตาภะปางสมาธิองค์เล็กบนศิราภรณ์ของพระโพธิสัตว์องค์นี้จะหักหายไป แต่การที่รูปนี้ครองหนังกวางก็อาจหมายความได้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในศิลปะศรีวิชัยแปลกกว่าที่อื่นที่มักมีหนังเสือคาดอยู่รอบพระโสณี (ตะโพก) ซึ่งในประเทศอินเดียไม่เคยปรากฏตั้งแต่แรก ลักษณะดังกล่าวบนเกาะสุมาตราและชวาก็มีบ้าง
โบราณวัตถุแบบศรีวิชัยบางชิ้นก็พบในที่ไกลมาก เป็นต้นว่าประติมากรรมที่เชื่อกันว่าเป็นรูปพระเมตไตรยโพธิสัตว์ตามลัทธิมหายาน แต่ปัจจุบันก็มีผู้เสนอว่าอาจเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งแสดงปางประทานปฐมเทศนา (รูปที่ ๓) พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ที่จังหวัดมหาสารคาม คงมีผู้นำเอาขึ้นไป พระพุทธรูปนาคปรกซึ่งค้นพบที่วัดเวียง อำเภอไชยา (รูปที่ ๔) เป็นของแปลกประหลาด เพราะพระพุทธรูปไม่หล่อเป็นปางสมาธิ แต่ทำเป็นปางมารวิชัย ซึ่งมีน้อยมาก เหตุนั้นจึงมีนักปราชญ์บางท่านสันนิษฐานว่าพระพุทธรูปและนาคนั้น อาจไม่ได้หล่อขึ้นพร้อมกัน เพราะเหตุว่ารูปนี้อาจถอดออกได้เป็น ๓ ชิ้นคือเศียรนาคชิ้นหนึ่ง พระพุทธรูปชิ้นหนึ่ง และขนดนาคอีกชิ้นหนึ่ง แต่ก็อาจจะเชื่อได้ยากอยู่เพราะวางเข้ากันได้พอดี ที่ฐานนาคมีจารึกว่าหล่อขึ้นใน พ.ศ. ๑๗๒๖ อันอาจนับได้ว่าเป็นตอนปลายของศิลปะศรีวิชัย พระพุทธรูปนาคปรกดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามีอิทธิพลของศิลปะขอมหรือลพบุรีเข้ามาปะปนแล้ว ดังอาจเห็นได้จากลักษณะเศียรนาค พระพักตร์สี่เหลี่ยมของพระพุทธรูปและท่านั่งขัดสมาธิราบ รวมทั้งภาษาขอมที่ใช้ในจารึก ในขณะเดียวกัน ลักษณะของศิลปะศรีวิชัยตอนปลายก็มีปรากฏอยู่ด้วย คือพระเกตุมาลาหรือเมาลีเรียบ ไม่มีขมวดพระเกศา มีรัศมีรูปใบโพธิ์ติดอยู่ทางด้านหน้า และชายจีวรเป็นริ้วซ้อนกันเหนือพระอังสาซ้าย ลักษณะหลังนี้ได้คงอยู่นานที่อำเภอไชยาทางภาคใต้ของประเทศไทยจนกระทั่งถึงสมัยอยุธยา
ที่จังหวัดสงขลา ก็ได้ค้นพบประติมากรรมสัมฤทธิ์สมัยศรีวิชัยหลายชิ้นเช่นเดียวกัน ที่เป็นเทวรูปก็มี เช่น รูปพระอิศวร และรูปท้าวกุเวร (รูปที่ ๕) แต่รูปท้าวกุเวรองค์นี้คงสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน คือเป็นรูปชัมภละ เพราะเหตุว่ามีจารึกคาถาภาษาสันสกฤต “เย ธรฺมฺมา” สลักอยู่บนด้านหลัง นอกจากนี้ก็มีภาชนะดินเผาด้วยที่อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็ได้ค้นพบประติมากรรมสัมฤทธิ์สมัยศรีวิชัยเช่นเดียวกัน
พระพิมพ์ที่พบส่วนมากทำด้วยดินดิบ เป็นของที่แตกหักง่าย คงจะไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนาดังพระพิมพ์ดินเผาหรือโลหะ สันนิษฐานว่าคงทำตามประเพณีทางลัทธิมหายาน เมื่อเผาศพพระสงฆ์เถระที่มรณภาพหรือบุคคลที่ตายแล้วเอาอัฐิธาตุโขลกเคล้ากับดิน แล้วพิมพ์พระพุทธรูป หรือรูปพระโพธิสัตว์ (รูปที่ ๖) ไว้เป็นพระพิมพ์ดินดิบ เพื่อประสงค์ปรมัตถประโยชน์ของผู้มรณภาพเป็นที่ตั้ง อัฐินั้นได้เผาครั้งหนึ่งแล้ว จึงไม่เผาอีก
สำหรับสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยนั้นเหลืออยู่น้อยมากเช่นที่ เจดีย์พระบรมธาตุไชยยา วัดมหาธาตุ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่อำเภอไชยาคงเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณที่สำคัญในสมัยศรีวิชัย เพราะเหตุว่าบรรดาโบราณวัตถุที่กล่าวมาข้างต้นส่วนมากก็ค้นพบที่ไชยาทั้งสิ้น จนถึงมีบางท่านกล่าวว่าเมืองไชยาอาจเป็นราชธานีของอาณาจักรศรีวิชัยก็ได้(จริงๆแล้วพบหลักฐานงานโบราณวัตถุสถานแบบศรีวิชัยในอินโดนีเซียมากกว่า)
ประเพณีของศรีวิชัย
การแต่งกาย
การแต่งกายของชาวศรีวิชัย ซึ่งอาศัยอยู่ในแหลมมาลายู เกาะสุมาตตราและชวา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-17 ส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายคลึงกับอินเดีย กรมศิลปกร ได้จัดเครื่องเเต่งกายเลียนเเบบประติมากรรม ที่พบในสมัยนี้สมมติ เป็นชาวศรีวิชัยฐานะ ต่างๆ ถือดอกไม้ ธูป เทียน เดินทักษิณาวัฏรอบองค์พระบรมธาตุไชยา อันเป็นปูชนียสถาน ที่สำคัญ ในสมัยนั้น
การแต่งกายของสตรี นิยมเกล้าผมยาวทำเป็นรูปพุ่มทรงข้าวบิณฑ์สามกลีบ แล้วเกล้าผมสูงเป็นลำขึ้นไป รวบผมด้วยรัดเกล้า ปล่อยชายปรกลงมาด้านหน้า บางทีทำทรงผมมุ่นมวยเป็นทรงกลมเหนือศรีษะ แต่ใช้รัดเกล้า รัดเป็นชั้นๆ แล้วปล่อยชายผม ให้ประบ่าทั้งสองข้าง ผู้หญิงสมัยนี้ชอบตกแต่งด้วยต่างหูแผ่นกลม จำหลักเป็น กลีบดอกไม้ขนาดใหญ่บ้างทำเป็นลายเชิงกรวยหรือก้านต่อ ดอกบ้าง ตบแต่งลำคอด้วย กรองคอเส้นเกลี้ยง มีทับทรวงประบ่า ลำแขน ประดับด้วยทองกร หรือพาหุรัดทำด้วยโลหะลูกปัด ร้อยเป็นพวงอุบะ นุ่งผ้าครึ่งแข้ง มีปลายบาน ยกขอบก็มี ที่นุ่งผ้าผืนยาวบางแนบเนื้อ คล้ายของผู้ชายก็มี ขอบผ้าชั้นบนทำเป็นวงโค้ง เห็นส่วน ท้องบางทีมีเข็มขัดผ้า ปล่อยชายลงไปทางด้านขวา นิยมใส่กำไรมือและเท้า
ก่อตั้งโดยราชวงศ์ไศเลนทร์